วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ฉงชิ่ง


ฉงชิ่ง เมืองที่ถูกขนามนามว่า “ฮ่องกงน้อย”




ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.manager.com

จุดชมเมืองสูงสุด ชื่อว่า “Eling Park”



ขอขอบคุณรูปภาพจาก travel.mthai.com





ขอขอบคุณรูปภาพจาก travel.mthai.com
ฉือชี่โข่วเป็นเมืองโบราณที่อยู่ท่ามกลางความเจริญของนครฉงชิ่ง เราสามารถเลือกซื้อของที่ระลึก หรือของฝากจากที่นี่ได้อย่างมากมาย

ศาลาประชาคม (ต้าหลี่ถัง)



ขอขอบคุณรูปภาพจาก travel.mthai.com
สร้างขึ้นตามความคิดริเริ่มของจอมพลเฮ่อหลงแห่งกองทัพคอมมิวนิสต์ ภายหลังการปฎิวัติสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2494 เพื่อใช้เป็นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและเป็นโรงละครของประชาชน จุคนได้กว่า 4,000 คน สร้างโดยจำลองแบบมาจากหอเทียนถานที่เมืองหลวงปักกิ่ง แบ่งออกเป็นตึกกลาง ตึกใต้และตึกเหนือ ลักษณะพิเศษอยู่ที่ส่วนกลางมีโครงหลังคาเป็นเหล็กหนักถึง 286 ตัน

อนุสาวรีย์เจี่ยฟั่งเปย



ขอขอบคุณรูปภาพจาก travel.mthai.com
หากท่านได้มาทัวร์ฉงชิ่ง สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดคือ ลานอนุสาวรีย์ใจกลางเมือง หรือ ถนนคนเดิน ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่ยิ่งใหญ่ แหล่งชอปปิ้งร้านแบรนด์เนมชื่อดัง


สนใจทัวร์ฉงชิ่ง ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.doubleenjoy.com/ทัวร์เที่ยวจีน/ทัวร์ฉงชิ่ง-สุ้ยหนิง-ล่องเรือแม่น้ำแยงซีเกียง.aspx

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แชงกรีล่า

ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.indochinaexplorer.com
  แชงกรีล่าเชื่อถือกันว่าแชงกรีล่านั้นมีแบบอย่างมาจากคำว่า แชมบาลา ซึ่งหมายถึงอาณาจักรที่ผู้คนอาศัยด้วยกันอย่างสุขสงบ เป็นอาณาจักรลึกลับตั้งอยู่ในบริเวณหุบเขาหิมาลัย ตามความความเชื่อถือที่ได้รับการสอนดำเนินต่อกันมาของพระภิกษุนิกายลามะว่า แชงกรีล่า ดินแดนที่แสนจะงดงาม ด้วยเทือกเขาสูงเสียดเมฆแนบชิดด้วยทุ่งหญ้าเขียวบริสุทธิ์ หน้าผาอันสูงใหญ่และสายธารสะอาดสดใส เปี่ยมด้วยความงดงามราวกับสวนสวรรค์แห่งพระเจ้า จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลจีนได้สำรวจค้นหาดินแดนแห่งนี้ ตามคำพรรณนาในบทประพันธ์ของ เจมส์ ฮิลตัน ทั้งบริเวณที่ตั้ง สภาพภูมิประเทศ ขณบธรรมเนียมและประเพณี ของผู้คน ก่อนที่จะสรุปได้ว่า ดินแดนแชงกรีล่านั้น คือเขตรอยต่อระหว่าง ทิเบต ยูนนาน และเสฉวน ซึ่งได้แก่เมืองจงเตี้ยนนั่นเอง
ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.trekkingthai.com

วัดซงจ้านหลิน นอกจากจะเป็นศูนย์กลางทางศาสนาพุทธในแชงกรีล่าแล้ว ภายในของพระอารามหลวงยังมีทรัพย์สมบัติมากมายทั้ง คัมภร์ทิเบตโบราณ พระพุทธรูปทองคำ ตะเกียงทองคำ พระอารามแห่งนี้ยังมีอีกนามว่า วัดโปตาลาน้อย เพราะก่อสร้างตามอย่างมาจากพระราชวังโปตาลา แห่งกรุงลาซา ทิเบต การดำริให้ก่อสร้างวัดซงจ้านหลินพ.ศ. 2222 (ค.ศ. 1679) โดยสร้างสำเร็จสองปีต่อมา เพราะต้องการให้เป็นที่ศูนย์รวมจิตใจให้กับชาวทิเบตซึ่งพักอยู่ในแชงกรีล่า โดยมีทะไลลามะองค์ที่ 5 เป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งตรงกันกับสมัยอยุธยาตอนต้นของไทย และรัชสมัยของ คังซีฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ถัง

ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.grandtourchina.com
เมืองโบราณจงเตี้ยน เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,300 ปี และได้รับการบูรณะต่อเติมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้บ้านเรือนในเเมืองโบราณแห่งแชงกรีล่านี้มีความแข็งแรงมากกว่าเดิม ภายในเมืองโบราณจงเตึ้ยน จะมีร้านขายสินค้าที่ระลึก เกสต์เฮาส์เล็ก ๆ มากมาย กลางเมืองโบราณมีลานเล็ก ๆ มีขนม และอาหารขาย มีที่นั่งชมเมืองที่ประดับประดาด้วยสีสันสดใสชองอารยธรรมธิเบต และชาวธิเบตในชุดพื้นเมือง ทำให้ผ่อนคลายอารมณ์กับบรรยากาศแชงกรีล่าได้เป็นอย่างดี
ด้านท้ายของเมือง จะมีลานกว้างขนาดใหญ่ ซึ่งทุก ๆ เย็นจะมีชาวทิเบตรวมตัวกันเต้นรำแบบโบราณ โดยจะจับกลุ่มกันเป็นวงกลม เต้นรำด้วยลีลาทะมัดทะแมง และพร้อมเพรียง ทั้งการหมุนตัว ตบมือ ดูน่าสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง  อกจากนี้แล้ว ลานนี้ยังเป็นทางขึ้นสู่ยอดเขาเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดต้าฝอ วัดแห่งนี้ที่มีกงล้อมนตร์ขนาดสูงใหญ่เท่าตึกสามชั้นทางด้านซ้ายมือของวัด ซึ่งเป็นที่สักการะของชาวธิเบตทั้งหลายว่า การหมุนกงล้อมนตร์ครบ 3 รอบ เป็นการสร้างบุญบารมีครั้งใหญ่ ในแต่ละวันจะมีชาวธิเบตและนักท่องเที่ยว ที่มาเยือนแชงกรีล่่า ต่างมาอธิษฐานและหมุนกงล้อมนตร์นี้มากมาย


หุบเขาเสือกระโจน
ขอขอบคุณรูปภาพจาก http://abroad-tour.com
หุบเขาเสือกระโจน หรือ หูเที่ยวเฉีย (Hutiaoxia)
        หุบเขาเสือกระโจน หรือ หูเที่ยวเฉีย เป็นช่องหุบเขาเหนือแม่น้ำแยงซี ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนจีน ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลี่เจียงไปทางเหนือ 60 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน เป็นหุบเขาในช่วงที่แม่น้ำแยงซีไหลลงมาจากจินซาเจียง (แม่น้ำทรายทอง) น้ำบริเวณนี้ไหลเชี่ยวมาก ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตร ยาว 15 กิโลเมตร ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำไหลผ่านระหว่างภูเขาหิมะมังกรหยกที่สูง 5,596 เมตร และภูเขาหิมะฮาป๋าที่สูง 5,396 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำไหลเชี่ยวและอยู่ใต้หน้าผาสูง 2,000 เมตร ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตช่องแคบนี้มีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากกลางแม่น้ำบริเวณนี้มีหินที่เรียกว่า “หินเสือกระโดด” ซึ่งก้อนหินมีความสูงกว่า 13 เมตร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องแคบเสือกระโดด” ช่องเขาเสือกระโจนเป็นหนึ่งในหุบเขาเหนือแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองชาวหน่าซี โดยจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆบริเวณใกล้เคียง และหาเลี้ยงชีพโดยการเพาะปลูกและรับจ้างนำทางคนต่างถิ่น
โค้งแรกแม่น้ำแยงซี

ขอขอบคุณรูปภาพจาก http://abroad-tour.com
โค้งแรกแม่น้ำแยงซี (Changjiangdiyiwan)
         แม่น้ำแยงซีที่ไหลผ่านเมืองลี่เจียงช่วงนี้มีชื่อว่า จินซา หรือเรียกเต็มๆว่า จินซาเจียง แปลว่าแม่น้ำทรายทอง ณ จุดนี้เองที่แม่น้ำได้หักโค้งข้อศอกเป็นโค้งแรก 180 องศา ทำให้ไหลแยกจากแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันออก ก่อให้เกิดอารยธรรมจีนที่ยิ่งใหญ่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว กล่าวกันว่าถ้าไม่มีโค้งนี้ก็อาจไม่มีอารยธรรมจีนอันเกรียงไกร อีกทั้งจุดนี้ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ขบวนทัพของทั้งขงเบ้ง กุบไลข่าน ใช้เป็นจุดข้ามแม่น้ำแยงซีไปทำศึก และเหมาเจ๋อตงเดินทัพทางไกลหนีการล้อมปราบของพวกก๊กมินตั๋งห่างจากเมืองเก่าลี่เจียง 53 กิโลเมตร เกิดจากแม่น้ำแยงซี (หรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง) ที่ไหลลงมาจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไปทางทิตะวันออกเฉียงเหนือ จนเกิดเป็นโค้งน้ำที่สวยงาม น่าหลงใหล นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปสัมผัสกับบรรยากาศและความงดงามของโค้งแรกแม่น้ำแยงซีเกียงจะต้องไม่ลืมถ่ายภาพกลับมาเพื่อเป็นที่ระลึก



ขอขอบคุณรูปภาพจาก  www.mekongstory.com
 ภูเขาหิมะเหมยลี่ เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ใกล้แชงกรีล่า เทือกเขาเหมยลี่ขนาบไปด้วย แม่น้ำสองสาย อันได้แก่ นู่เจียง(แม่น้ำสาละวิน) และหลานซางเจียง(แม่น้ำโขง) ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภูมิภาคอาเซียน ยอดเขาสูงสุดของภูเขาหิมะเหมยลี่คือ ยอดคาวาเกโบ (Kawagebo Peak) ซึ่งมีความสูงถึง 6,740 เมตร ( 22,112.86 ฟุต) รองลงมาได้แก่ ยอดเขาเหมียนจี้มู (6,509 เมตร) และเจียยื่อเหริน ยอดเขาทั้งสามแห่งนี้ เป็นยอดเขาที่ยังบริสุทธิ์และไม่เคยมีใครพิชิตถึงยอดเขาสูงแห่งเทือกเขาหิมะเหมยลี่ทั้ง 13 ยอดนั้น หมายถึงโอรสสวรรค์ ทั้ง 13 องค์ ซึ่งตัวเป็นแทนแห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวทิเบต โดยเฉพาะชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ใน เสฉวน,ทิเบต,ชิงไห่ และกานซู จะให้ความเคารพสักการะกับภูเขาหิมะเหมยลี่เป็นอย่างมาก

ขอขอบคุณรูปภาพจาก  www.xn--12cli6hk2fta5g.com
  ทุ่งกุหลาบพันปี ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทาง ลี่เจียงถึงแชงกรีล่า ซึ่งจะเป็นทุ่งดอกไม้ขนาดใหญ่อยู่ตลอดเส้นทาง มักจะมีชาวทิเบตนำรั้วมากั้นเพื่อเก็บค่าเข้าชมท่านละ 5-10 หยวน
นอกจากนี้แล้ว นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวแชงกรีล่า สามารถชมทุ่งกุหลาบพันปีได้ ณ บริเวณที่ทำการอุทยานหุบเขาพระจันทร์สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนกระเช้าขึ้นสู่ยอดเขาสือข่า บริเวณนั้นมีทุ่งกุหลาบพันปีขนาดใหญ่อยู่ด้วยเช่นกัน




คุนหมิง



ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.programholidays.com

ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.programholidays.com
ป่าหิน คุนหมิง (Stone forest china) มียอดหินและเสาหินใหญ่น้อยตั้งเรียงรายกระจัดกระจายอยู่ตามเนินเขา หุบเขา และในพื้นที่ราบ ป่าหินแห่งนี้จัดว่าเป็นป่าหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ป่าหินแห่งนี้มีรูปลักษณ์ต่างๆ ของหินทั่วโลก อย่างเช่นที่ ป่าหินใหญ่ หินส่วนใหญ่มีรูปเหมือนเป็นดาบ เมื่อไปถึงอีกแห่งหนึ่ง หินจะมีรูปคล้ายเจดีย์ ไปถึงอีกที่หนึ่ง หินที่นั่นก็ดูเหมือนเห็ด มีทั้งสีดำและสีเหลือง มีผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเคยบอกว่า เมื่อมาถึงป่าหินแล้ว รู้สึกเดี๋ยวก็อยู่คิวบา เดี๋ยวก็ถึงสเปน เหมือนกับว่า ป่าหินในทั่วโลกได้ย้ายมาอยู่ที่นี่วางแสดง ป่าหินคุนหมิงนับเป็นพิพิธภัณฑ์ของป่าหินทั่วโลก ซึ่งมีคุณค่ามาก"ภายในป่าหินมีทางแยกมากกว่า 400 สาย มีจุดท่องเที่ยวกว่า 200 จุด จึงได้สมญานามว่า วังวนใต้ทะเล " หินลักษณะสวยงามแปลกตาเหล่านี้ล้วนเป็นหินปูนที่แต่เดิมอยู่ใต้ผิวน้ำและเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกหินเหล่านี้จึงถูกดันให้โผล่ขึ้นเหนือผิว น้ำกลายเป็นภูมิทัศน์ที่งดงามโดดเด่นป่าหินแห่งนี้ประมาณกันว่า มีอายุราว 270 ล้านปี ป่าหินแห่งนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือป่าหินน้อย (Minor stone forest) และป่าหินใหญ่ (Major stone forest) และอีกส่วนหนึ่งที่มีความงดงามไม่แพ้กันคือ
ส่วนของป่าหินนอก(Outer stone forest) ซึ่งอยู่บริเวณรอบนอกของป่าหินน้อยและป่าหินใหญ่ตามเส้นทางถนนรอบๆป่าหิน น้อยป่าหินใหญ่ที่เรียบไปตามป่าหิน นอกนั้นมีวิวทิวทัศน์เป็นทุ่งดอก Cosmos หลากสี ป่าหินน้อยก็เต็มไปด้วยก้อนหินรูปร่างแปลกๆจำนวนมาก หยุดยังลานโล่งที่ล้อมรอบไปด้วยหินก้อนมหึมาขึ้นตระหง่าน ซึ่งที่นี่มีก้อนหินสัญลักษณ์ของป่าหินคุนหมิง โดยหินก้อนนี้มีชื่อว่า "อาซือหม่า" เป็นภาษาอาข่าชนพื้นเมืองในแถบป่าหินความโดดเด่นของหินอาซือหม่านั้น คนจีนจินตนาการเป็นรูป ด้านข้างของสาวชาวอาข่าสวมหมวกแบกตะกร้าใส่ดอกไม้ไว้ที่ด้านหลังป่าหินใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของ อุทยานฯ ที่นี่มากมายเต็มไปด้วยหินสารพัดรูปแบบให้เลือกชม นับเป็นเขตทัศนียภาพที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดภายในบริเวณป่าหินใหญ่ มีจุดท่องเที่ยวหลายแห่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งหลาย

ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.programholidays.com
ประตูมังกร เขาซีซาน  นานประตูมังกร - คนจีนกล่าวไว้ว่ามาถึงคุนหมิงจะต้องไปลอดประตูมังกร เมื่อลอดแล้วฐานะจะเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งร้อยเท่า มีตำนานเล่ากันมาว่า ในสมัยก่อนแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดคือแม่น้ำเหลืองจะมีปลาหลีหือซึ่งเป็นปลาประจำชาติของจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่งเกิดน้ำท่วมทำให้ปลาไหลไปอยู่ตามแม่น้ำสายอื่น เมื่อปลาไปอยู่แม่น้ำอื่นปลาไม่ชินกับคุณภาพน้ำจึงมีความพยายามว่ายทวนน้ำเพื่อกลับไปอยู่ในแม่น้ำเหลืองของปลา ท่านเลยสั่งให้ไปสร้างประตูตรงแม่น้ำเหลือง ถ้าปลาตัวไหนกระโดดข้ามประตูได้ ท่านก็จะให้เป็นมังกร ถ้าปลาตัวไหนกระโดดข้ามไม่ได้ ก็ต้องไปอยู่ในแม่น้ำเหลือง ปลาก็เลยมีความพยายามไปกระโดดข้ามประตูเพื่อเป็นมังกร เลื่อนจากปลาเป็นมังกรถือว่าฐานะของปลาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยเท่า ดังนั้นประตูมังกรเหมือนเป็นการสอนคนจีนมาโดยตลอด คือเมื่อเรามีความพยายามก็จะประสบความสำเร็จ ข้อมูล ประวัติ - ประตูมังกร เขาซีซาน ตั้งห่างจากตัวเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน 29 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของวัดในลัทธิเต๋า สร้างในช่วง ค.ศ.1718-1843 ผ่านอุโมงค์หินที่สกัดไว้ตามไหล่เขา พร้อมชมศาลเจ้าและวัดจีนลัทธิเต๋า ซึ่งสร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับ 1,000 ปี ชมความงดงามของ ทะเลสาบคุนหมิง เตือนฉือ จากมุมมองจากที่สูง มาลอดประตูมังกร หลงเหมิน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง เชื่อกันว่าเป็น ประตูแห่งความสิริมงคล ซึ่งถ้าผู้ใดได้เดินลอดผ่านประตูแห่งนี้จะประสบแต่ความสำเร็จโชคดี ประตูแห่งนี้ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมหน้าผา ในการจะลอดประตูมังกรได้นั้นจะต้องพิชิตเขาซีซานให้ได้ก่อน โดยการเดินขึ้นบันไดประมาณ 300 กว่าขั้น บริเวณทางเดินขึ้นเขาซีซานนั้นจะมีจุดพักต่างๆ หลายจุด จุดแรกจะพบ "ศาลเจ้าหวางหลินกวง" ข้างๆ องศาลเจ้าจะมีรูปที่แกะสลักบนหินเป็น "เทพเจ้าแห่งโชคลาภ" คนจีนถือว่าเมื่อเอามือลูบที่ก้อนทองที่ท่านถือไว้ แล้วนำมาใส่กระเป๋าของเรา เหมือนกับขอเงินทองกับท่าน
ขอให้ร่ำรวย เดินไปเรื่อยๆก็จะพบที่พักจุดต่างๆ บริเวณจุดพักต่างนี้จะเห็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย เช่น "บ่อน้ำวัวกตัญญู" "ศาลเจ้าแม่กวนอิมประทานบุตร" หรือ "เจ้าแม่กวนอิมส่งลูก" และจุดสุดท้าย คือ "ประตูมังกร" หรือศาลเจ้ามังกรหรือไข่มังกร เพื่ออธิฐานขอโชคลาภ มีสองวิธีในการขอพร คือ ใช้มือขวาไปจับแก้วมังกรแล้วอธิฐาน อีกวิธีหนึ่งคือใช้มือซ้ายจับแก้วมังกร มือขวาจับหางปลา ซึ่งก็คือปลาที่กระโดดข้ามประตูแล้วกลายเป็นมังกร ในการลูบหรือจับปลาคือขอให้เหลือกินเหลือใช้

ขอขอบคุณรูปภาพจาก ww.mcptravel.com

วัดหยวนทง เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของมณฑลยูนนาน สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 – ค.ศ.907) จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันวัดหยวนทงจะเป็นลักษณะของวัดในสมัยราชวงศ์ชิง
เนื่องจากวัดนี้ได้ถูกทำลายในสมัยราชวงศ์หมิง และได้รับการบูรณะโดยหูซาน ผู้เป็นคนพลิกประวัติศาสตร์จีน เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศจีนเกิดราชวงศ์ชิง ภายในวัดที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงแห่งนี้
เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาถึง 3 นิกาย ได้แก่นิกายมหาญาณของพม่า นิกายหินญาณของไทย และนิกายลามะของธิเบตวัดหยวนทง เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,200 ปี ตั้งอยู่ที่ถนนหยวนทงเจียง เป็นอารามทางพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในคุนหมิง ภายในวัดตกแต่งร่มรื่นสวยงาม กลางลานมีสระน้ำขนาดใหญ่มีสะพานข้ามไปสู่ศาลาแปดเหลี่ยมกลางสระ เมื่อเดินเข้าภายในวัดพระองค์แรกที่เราได้เจอคือ “พระสังฆจาย” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า พระในอนาคต จะเป็นพระองค์แรกที่ยิ้มและต้อนรับผู้คนที่เข้ามาไหว้พระ เบื้องหลังของพระสังฆจายจะมีพระอยู่องค์หนึ่งที่เรียกว่า อุยโถว เขียนว่า อุ่ยทอ สำหรับพระองค์นี้เป็นพระที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของวัด ดังนั้นเราจะเห็นพระอุ่ยทอหันหน้ามองไปทางวิหารตลอดเวลา นอกจากนี้สองข้างของพระอุ่ยทอจะมีเท้าจตุโลกกบาล ซึ่งคนจีนเวลาจะไหว้พระจะไหว้ให้ครบทั้งสี่ทิศ คือทิศเหนือเกี่ยวกับพ่อแม่ ทิศตะวันออกเกี่ยวกับครู ทิศใต้เกี่ยวกับครอบครัว
และทิศตะวันตกเกี่ยวกับเพื่อนฝูง มีสะพานข้ามไปสู่ศาลาแปดเหลี่ยมกลางสระตั้งอยู่กลางสระน้ำมรกต ซึ่งเป็นสระน้ำสีเขียว มีสัตว์น้ำทั้งปลา ทั้งเต่าอยู่มากมาย ศาลาแปดเหลี่ยมหลังนี้เป็นศาลา
ที่อู๋ซานกุ้ยสร้างในสมัยราชวงศ์ชิง ในศาลาประดิษฐาน “เจ้าแม่กวนอิมพันกร” และเจ้าแม่กวนอิมพม่า หรือเรียกว่า “เจ้าแม่กวนอิมหยก”ในวิหารส่วนหลัง ภายในวัดหยวนทงนี้ ยังเป็นวิหารที่นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวนมากที่เดินทางมาถึงนครคุนหมิง จะต้องแวะมาสักการะบูชาอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองเหลือง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดหยวนทงแห่งนี้


สนใจทัวร์คุนหมิง ตงชวน ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.doubleenjoy.com/ทัวร์เที่ยวจีน/ทัวร์คุนหมิง.aspx

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ซูโจว

สวนโบราณเมืองซูโจว
เมืองแห่งสวนคลาสสิค

ขอบขอบคุณรูปจาก http://www.wlc2china.com

สวนคลาสสิคเมืองซูโจวมีประวัติศาสตร์มานาน 2,000 กว่าปี นับตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในยุคชุนชิวชาวเมืองซูโจวได้รู้จักการสร้างและจัดสวนมาเนิ่นนานแล้ว มาในสมัยราชวงศ์หมิงแฟชั่นสร้างสวนของซูโจวยิ่งเป็นที่นิยมไปทั่ว ส่งผลให้ปลายสมัยราชวงศ์ชิงมีสวนทั้งในและนอกเมืองซูโจวรวมอยู่ถึง 170 กว่าสวนสวนหลากหลายในเมืองซูโจว แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ สวนในที่พักอาศัย สวนในวัด และสวนชานเมือง โดยมีสวนในที่พักอาศัยเป็นพระเอก เพราะมีปริมาณมากที่สุด อีกทั้งมีกลิ่นอายของศิลปะที่ละเมียดละไมโดดเด่น แต่ทั้งหมดล้วนสร้างสีสันและบรรยากาศให้เมืองซูโจว เมืองแห่งแม่น้ำและลำคลอง หรือ ‘ดินแดนเวนิสแห่งตะวันออก’ นี้ ยังเป็นดินแดนแห่งสวนยุคราชวงศ์หมิงและชิง  หรือ ‘เมืองแห่งสวน’


ขอบขอบคุณรูปจาก http://www.wlc2china.com

สวนชางลั่งถิงหรือพลับพลาเกลียวคลื่นสีคราม
มีหินและเขาเป็นแนวคิดหลักในการจัดสวน


ช่วงสมัยราชวงศ์หมิงและชิง วัฒนธรรมแบบเศรษฐกิจระบบศักดินาในซูโจวเจริญถึงขีดสุด ศิลปะการจัดสวนก็พัฒนาถึงขั้นสุกงอม ก่อเกิดศิลปินด้านการจัดสวนขึ้นมากลุ่มหนึ่ง สร้างสรรค์ผลงานสวนจำลองธรรมชาติออกมาจำนวนมาก ฉุดให้กระแสนิยมการสร้างสวนถาโถมขึ้น กล่าวกันว่าในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของสวนซูโจว สวนในจวนเจ้านายชั้นสูง ขันทีและมหาเศรษฐีมีอยู่ถึง 280 กว่าแห่ง
ซึ่งปัจจุบันสวนที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ใกล้เคียงยุคสมัยโบราณ และมีชื่อเสียงเลื่องลืออยู่ราว 10 กว่าแห่ง ได้แก่ สวนชางลั่งถิง (พลับพลาเกลียวคลื่นสีคราม)สร้างขึ้นในสมัยซ่ง สวนป่าซือจึหลิน หรือสวนป่าสิงโต สวนสมัยราชวงศ์หยวน หรือสวนสมัยหมิงอย่างสวนจัวเจิ้ง และสวนสมัยชิง เช่น สวนหลิว และสวนอี๋หยวน (สวนสราญรมย์)และชื่อเสียงความงามของสวนสี่ยุคนี้เอง ทำให้สวนซูโจวได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
สุดยอดสวนโบราณซูโจวที่เลื่องชื่อและเป็นมรดกโลก ได้แก่
สวนจัวเจิ้ง เป็นสวนที่สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง รัชกาลเจิงเต๋อ ปีที่ 4 ตรงกับค.ศ.1509 มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของสวนโบราณทั้งหมดในเมืองซูโจว ถึง 51,590 ตรม. โดดเด่นในด้านภูมิทัศน์ทางน้ำซึ่งกินพื้นที่ถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โชว์ศิลปะการไหลเวียนตามธรรมชาติ ที่เรียบง่ายแบบคลาสิคสมัยหมิง นอกจากนี้ ยังตบแต่งประดับประดาด้วยโคลงคู่และภาพวาดพู่กันจีน เนื่องจากมีศิลปินกวีแห่งเจียงหนันร่วมในการออกแบบ
สวนหลิว สร้างในสมัยราชวงศ์หมิงเช่นกัน แต่หลังสวนจัวเจิ้ง 80 กว่าปี ในรัชสมัยวั่นลี่ ปีที่ 21 (ค.ศ.1593) มีพื้นที่ 23,310 ตรม. ในอดีตมีชื่อว่า ‘สวนตะวันออก’ เป็นสวนศิลปะเจียงหนันขนานแท้ โดดเด่นด้านการจัดวางและช่องว่าง มีการโชว์ลูกเล่นของลักษณะความแตกต่างทางสถาปัตยกรรรมที่สร้างมุมมองระดับต่างๆได้อย่างงดงามลงตัว ที่มีทั้งโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบยาว-สั้น สูง-ต่ำ ใหญ่-เล็ก หรือที่นำสายตาด้วยเส้นโค้ง-ตรง หรือขยาย-ย่อสัดส่วนพื้นที่ ตลอดจนการเล่นแสงเงา มืด-สว่างตามมุมต่างๆของอาคาร เป็นต้น
ขอบขอบคุณรูปจาก http://www.wlc2china.com

สวนหวั่งซือ สร้างในสมัยซ่งใต บูรณะใหม่ในรัชสมัยเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง
สวนหวั่งซือ พื้นที่ 5,400 ตรม. ขนาดเล็กเพียง 1 ใน 6 ของสวนจัวเจิ้ง เป็นสวนในที่พักอาศัยแบบคลาสิคของเจียงหนัน แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ด้านตะวันออกเป็นเรือนพักอาศัย ด้านตะวันตกเป็นสวน ใจกลางมีสระน้ำขนาด 440 ตรม. พร้อมด้วยระเบียงทางเดิน เก๋งจีน ศาลาริมน้ำอยู่ภายในสวน เฟอร์นิเจอร์และโคมไฟที่ประดับภายในอาคาร ก็เป็นศิลปะยุคราชวงศ์หมิง
สวนหวั่งซือสร้างขึ้นราวปีค.ศ.1174 โดยอดีตเสนาบดีปลดเกษียณสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ เริ่มจากความตั้งใจที่สร้าง ‘หอวั่นเจวี้ยนถัง’ ขึ้นเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับแขก โดยด้านข้างหอมีแปลงปลูกดอกไม้ชื่อ ‘อี๋ว์อิ่น’  แปลงดอกไม้นี้ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ‘สวนหวั่งซือ’ ซึ่งมาจากชื่อซอยที่มีเสียงใกล้เคียงว่า ‘หวังซือ’  ในสมัยราชวงศ์ชิง ได้กลายมาเป็นที่แปรพระราชฐาน เพื่อการพักผ่อนตากอากาศ และใช้เวลาส่วนพระองค์ของจักรพรรดิคังซี
สวนชางลั่งถิง หรือสวนพลับพลาเกลียวคลื่น เป็นสวนเก่าแก่ที่สุดในจำนวนสวนโบราณซูโจวทั้งหมด ชื่อของ 'ชางลั่งถิง' หรือพลับพลาเกลียวคลื่น ปรากฏขึ้นครั้งแรกในศิลาจารึกแผนที่เมืองผิงเจียง(ซูโจว ค.ศ.1229) สมัยราชวงศ์ซ่ง และยังมีบันทึกการเอ่ยชื่อ ‘พลับพลาชางลั่งถิง’ โดยกวีในสมัยเดียวกันด้วย
องค์ประกอบสำคัญของสวนแห่งนี้ คือ หิน ต้นไผ่ เนินเขา และสวนหย่อม กำแพงด้านตะวันตกของอาคารสถาปัตยกรรมหลักในสวน ตบแต่งด้วยภาพวาดบุคคลชั้นสูงในประวัติศาสตร์ซูโจวกว่า 500 ชิ้น ซึ่งเป็นเสน่ห์ของสวนแห่งนี้
สวนซือจึหลิน หรือสวนป่าสิงโต เด่นด้านภูเขาจำลองและหินรูปสิงโต ที่มาของชื่อสวน

ขอบขอบคุณรูปจาก http://www.wlc2china.com

สวนป่าซือจึหลิน มีพื้นที่ 1,152 ตรม. เป็นสวนสมัยศตวรรษที่ 14 ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของสวนแห่งนี้คือ ภูเขาหินจำลองที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างรอบๆทะเลสาบ รวมถึงน้ำตกและหน้าผาจำลองริมทะเลสาบ ยังมีการสร้างเขาวงกต ที่ประกอบด้วยถ้ำ ทางเดิน และปลูกต้นไซปรัสและสนโบราณ
สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์และที่มาของชื่อสวนแห่งนี้ คือ หินรูปร่างพิสดารที่มีการแกะสลักเป็นรูปสิงโตในท่าทางต่างๆ ที่บางคนมองว่าเป็นท่วงท่าสิงโตเต้นระบำ หรือกำลังกระโจนผาดโผน เป็นต้น สวนป่าซือจึหลินเป็นความภาคภูมิใจของเมืองซูโจว ในฐานะที่จำลองทัศนียภาพของป่าและเขา โดยมีการจัดวางองค์ประกอบต่างๆในพื้นที่จำกัดตามสไตล์ ‘เซน’

แก่นแท้ของ ‘ศิลปะ’ ใน ‘สวน’
สวนในเมืองซูโจว มักเป็นสวนพื้นที่เล็กๆ แต่อาศัยการเล่นเทคนิคที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่เคร่งครัดในกรอบ ออกแบบโดยยึดหลักความงามแบบคลาสสิคของจีนที่มักแสดงออกมาในรูปของภาพทิวทัศน์ ภูเขา สายน้ำ สัตว์ปีกและดอกไม้ นิยมสร้างเป็นภูเขาจำลอง สวนป่า และจัดวางศาลา หอสูง ขุดสระน้ำ สร้างทางเดินทางแยก และสะพานเล็กๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ยังแฝงไว้ด้วยแง่คิดทางศิลปะจากกวีนิพนธ์ในสมัยถังและซ่ง และสอดแทรกปรัชญาเต๋า พุทธ และแนวคิดของขงจื๊อ ซึ่งสอดคล้องกับคติการดำเนินชีวิตของชาวจีน ด้วยบรรยากาศการตกแต่งและแนวคิดที่แฝงเร้นในสวนทำให้สวนโบราณซูโจว ได้ชื่อว่าเป็นผลงานศิลปะที่รวมไว้ซึ่งคุณค่าหลายแขนง ทั้งในแง่ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ
สวนโบราณในเมืองซูโจว เปรียบเสมือน‘ป่าในเมือง’ คือ โลกจำลองของสภาพที่เป็นจริงในธรรมชาติ ดังคำเปรียบเปรยของสวนโบราณในซูโจวที่ว่า ‘น้ำหนึ่งกระบวยแทนสายน้ำ หินหนึ่งกำปั้นแทนขุนเขา’ แม้แต่สภาพอากาศในสวนก็ผันแปรไปตามฤดูกาล ยังความรื่นรมย์ให้แก่ชาวเมือง ราวกับได้ออกท่องป่าชมความงามตามธรรมชาติจริงๆโดยที่ไม่ต้องออกไปแสวงหาความสุขที่ไหนให้ไกลบ้าน
ลักษณะพิเศษของสวนโบราณในซูโจวอีกประการหนึ่ง คือ การจำลองภาพความงามในจินตนาการของกวีและศิลปินภาพวาดพู่กันจีน มาไว้ในหินทุกก้อน น้ำในสระ หรือแม้แต่แมกไม้ที่นำมาปลูกอยู่ในสวน แนวคิดการจัดสวนนี้ได้เริ่มมาพร้อมกับกำเนิดของสวนซูโจว
สืบเนื่องจากพื้นฐานการศึกษาของผู้สร้างสวนในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นผู้รู้ในเรื่องกวีหรือวรรณกรรมและเสพงานศิลปะเป็นชีวิต ตกผลึกเป็นแนวคิดที่ว่า ‘สวน คือ กวีที่ไร้สรรพสำเนียง และคือ ภาพวาดที่มีมิติ’ และเพื่อตอบสนองต่อทัศนคติดังกล่าว นักสร้างสวนจะมีมโนภาพเกี่ยวกับสวนไว้โดยให้ ‘ภาพวาด’ เป็นมูลฐาน และมี ‘บทกวี’ เป็นหัวข้อหลัก


ขอบขอบคุณรูปจาก http://www.wlc2china.com

สวนหลิว สวนสมัยราชวงศ์หมิง โชว์แนวคิดเรื่องภูเขาและน้ำ ภาพขวา-วิหารหนันมู่เตี้ยนในสวนหลิว
และเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งแนวคิดหลักของสวน ในแง่ความต้องการ อุดมคติ ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกนานาประการ สวนจำนวนมากจึงมีแบบฉบับการตกแต่ง เช่น การแขวนป้ายคำขวัญไว้เหนือประตูทางเข้า หรือการแขวนโคลงคู่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเค้าโครงความคิดหลักของสวนนั้นๆ ซึ่งเป็นลีลาการแสดงออกของผู้พิสมัยด้านโคลงฉันท์กาพย์กลอนในสมัยโบราณ

อีกด้านหนึ่งก็ให้ความสนใจในการจัดวางต้นไม้ สระน้ำ การสร้างทางเดิน ตลอดจนศาลาริมน้ำและภูเขาจำลองอย่างกลมกลืน งดงามละมุนละไม แม้ว่าสวนส่วนใหญ่ในซูโจวจะมีขนาดเล็ก หากทว่า แพรวพราวไปด้วยเทคนิคเชิงศิลปะ ด้วยการตกแต่งในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่สื่อความหมายลึกซึ้ง อาทิ สวนที่มีแนวคิดยก ‘น้ำ’ ขึ้นเป็นตัวเอก เช่น สวนจัวเจิ้ง จะมีศูนย์กลางซึ่งเป็นพื้นที่น้ำมากถึง 1 ใน 3 ส่วน พันธุ์ไม้ที่ตกแต่งรอบสระเน้นความเขียวชะอุ่มกลมกลืนรับกับสระน้ำกว้าง สิ่งก่อสร้างโดยรอบสูงต่ำลดลั่นชัดเจน อีกฝั่งหนึ่งใช้ลูกเล่นระเบียงวนเป็นคลื่นขึ้นลงแลดูนุ่มนวลสบายตา
เมื่อใดที่ได้เตรดเตร่อยู่ตามทางเดินวกวนในสวน นอกจากจะเพลิดเพลินกับความงามในซอกมุมต่างๆแล้ว ทุกส่วนของการจัดแต่งยังเต็มไปด้วยปริศนาให้ครุ่นคิด ตีความและค้นพบ เฉกเช่น เดินเข้าสู่ภาพวาดในอีกมิติหนึ่ง หรือกำลังดื่มด่ำกับความแหลมคมและยอกย้อนของกวีนิพนธ์ เป็นความหลักแหลมและชั้นเชิงของศิลปินผู้สร้างงานสวน ในการโน้มนำผู้ชมสวนให้เข้าสู่มนต์ขลังของธรรมชาติ
นี่จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ ‘สวนโบราณ’ เอกลักษณ์ของเมืองซูโจว สามารถเข้าถึงความหมายของมรดกโลกทางวัฒนธรรมได้อย่างแจ่มชัดที่สุด
ขอบขอบคุณรูปจาก http://www.wlc2china.com